วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประวัติ ISO 9000

ในธุรกิจอุตสาหกรรมมีการแข่งขันกันสูงในทุกวันนี้ ได้มีการรวมตัวกันทางการค้าเป็นตลาดเดียวกันของกลุ่มประเทศ ซึ่งทำให้ได้เปรียบในทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากเพื่อการคุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มแล้วยังเป็นการกีดกันทางการค้าของคู่แข่งต่างกลุ่มได้อีกด้วย โดยวิธีการกำหนดมาตรฐานของกลุ่มตนให้แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ ได้มีการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีบทบาทต่อการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ซึ่งกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ได้ถูกสถานการณ์โลกบังคับให้ต้องมีการรวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่กลุ่มประเทศของตนจะได้รับ ซึ่งกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้แก่สมาคมประชาขาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก หรือ APEC เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA นอกจากนี้ยังมีองค์กรสากลที่มีบทบาทต่อการค้าระหว่างประเทศ เช่นองค์การค้าโลก WTOองค์กรสากลว่าด้วยมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization) องค์กรสากลว่าด้วยการมาตรฐานระหว่างประเทศ (The International Organization for Standardization) ซึ่งใช้ตัวย่อ ISO ที่เรารู้จักกันดีว่า ISO ไม่ใช่องค์กรของรัฐ ก่อตั้งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2490 (1947) โดยมีภารกิจในการสนับสนุนและพัฒนาการมาตรฐานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนองต่อการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของนานาขาติทั่วโลกรวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกันในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรม ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่เรียกว่า มาตรฐานสากลองค์กรสากลว่าด้วยการมาตรฐานระหว่างประเทศ (The International Organization for Standardization ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2489 โดยมีผู้แทนจากประเทศต่างๆ จำนวน 25 ประเทศ เข้ามาประขุมร่วมกันที่กรุงลอนดอนและในที่สุดมีมติให้จัดตั้งองค์การดังกล่าวขึ้นมา รวมถึงองค์การสหประชาชาติก็ได้ยอมรับให้เป็นองค์การชำนาญพิเศษ ประเภทที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาล สมาชิกของ ISO จะต้องเป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติซึ่งมีได้เพียงสถาบันเดียวจากแต่ละประเทศทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์และกำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันมาตรฐานโลก (World Standard Day)

วัตถุประสงค์ขององค์การจึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหรือปรับมาตรฐานนานาชาติเกือบทุกประเภท (ยกเว้นมาตรฐานทางงานไฟฟ้าซึ่งเป็นหน้าที่ของ IEC) ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันได้ สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานกำหนดคุณภาพของตนเอง เช่น สหรัฐอเมริกาเป็น ANSI ญี่ปุ่นเป็น JIT เยอรมันนีใช้ระบบ DIN อังกฤษเป็น BS และในประเทศไทยจะเป็น TIS หรือ มอก. เป็นต้น